หน่วยที่
3 ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร
ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้ การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้ การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน
ความหมายของการสื่อสาร
คำว่า การสื่อสาร (communications) มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า communis หมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน การสื่อสาร (communication) หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
คำว่า การสื่อสาร (communications) มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า communis หมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน การสื่อสาร (communication) หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
ประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่
ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ
คณาจารย์
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2551:
17) กล่าวถึง วัตถุประสงค์ของการสื่อสารไว้ดังนี้
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) ในการทำการสื่อสาร ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
5. เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้ เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำการสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
6. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide) ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ ทางเลือกในการ ตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) ในการทำการสื่อสาร ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
5. เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้ เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำการสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
6. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide) ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ ทางเลือกในการ ตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น
7. เพื่อให้ข่าวสารและความรู้
(Inform) เช่นการเรียนการสอน การเสนอข่าวในหนังสือพิมพ์
8. เพื่อชักจูงใจ
(Persuade) เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของผู้รับสารให้คล้อยตามเรื่องที่เราต้องการจะสื่อสาร
เช่น การโฆษณาเพื่อจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้า
9.
เพื่อความบันเทิง (Entertain) เช่น การจัดรายการเพลง
หรือเกมต่างๆ ทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ ในการสื่อสารที่ดีควรรวบรวมวัตถุประสงค์เหล่านี้เข้าด้วยกัน
เพราะในกิจกรรมการสื่อสารแต่ละอย่างนั้นมักจะมีหลายวัตถุประสงค์แฝงอยู่ เช่น การเรียนการสอนโดยแทรกอารมณ์ขัน
เป็นต้น
องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร
มี 4 ประการ ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด ได้แก่ ภาษาและอากัปกิริยาต่าง ๆ เพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึก ข่าวสาร ความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใด ๆ หรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตาม จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น ผู้พูด ผู้เขียน กวี ศิลปิน นักจัดรายการวิทยุ โฆษกรัฐบาล องค์การ สถาบัน สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ หน่วยงานของรัฐ บริษัท สถาบันสื่อมวลชน เป็นต้น
1. ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด ได้แก่ ภาษาและอากัปกิริยาต่าง ๆ เพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึก ข่าวสาร ความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใด ๆ หรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตาม จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น ผู้พูด ผู้เขียน กวี ศิลปิน นักจัดรายการวิทยุ โฆษกรัฐบาล องค์การ สถาบัน สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ หน่วยงานของรัฐ บริษัท สถาบันสื่อมวลชน เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ส่งสาร
1. เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ
2. เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี
3. เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร
4. เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร
5. เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร
2. สาร (message) หมายถึง เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ เช่น ข้อความที่พูด ข้อความที่เขียน บทเพลงที่ร้อง รูปที่วาด เรื่องราวที่อ่าน ท่าทางที่สื่อความหมาย เป็นต้น
2.1 รหัสสาร (message code)ได้แก่ ภาษา สัญลักษณ์ หรือสัญญาณที่มนุษย์ใช้เพื่อแสดงออกแทนความรู้ ความคิด อารมณ์ หรือความรู้สึกต่าง ๆ
2.2 เนื้อหาของสาร (message content) หมายถึง บรรดาความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะถ่ายทอดเพื่อการรับรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกันหรือโต้ตอบกัน
2.3 การจัดสาร (message treatment) หมายถึง การรวบรวมเนื้อหาของสาร แล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นไปอย่างมีระบบ เพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหา ที่ต้องการด้วยการเลือก ใช้รหัสสารที่เหมาะสม
3. สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร
4. ผู้รับสาร (receiver) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร
จากผู้ส่งสาร และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร เช่น ผู้เข้าร่วมประชุม ผู้ฟังรายการวิทยุ กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
1. เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ
2. เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี
3. เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร
4. เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร
5. เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร
2. สาร (message) หมายถึง เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ เช่น ข้อความที่พูด ข้อความที่เขียน บทเพลงที่ร้อง รูปที่วาด เรื่องราวที่อ่าน ท่าทางที่สื่อความหมาย เป็นต้น
2.1 รหัสสาร (message code)ได้แก่ ภาษา สัญลักษณ์ หรือสัญญาณที่มนุษย์ใช้เพื่อแสดงออกแทนความรู้ ความคิด อารมณ์ หรือความรู้สึกต่าง ๆ
2.2 เนื้อหาของสาร (message content) หมายถึง บรรดาความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะถ่ายทอดเพื่อการรับรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกันหรือโต้ตอบกัน
2.3 การจัดสาร (message treatment) หมายถึง การรวบรวมเนื้อหาของสาร แล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นไปอย่างมีระบบ เพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหา ที่ต้องการด้วยการเลือก ใช้รหัสสารที่เหมาะสม
3. สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร
4. ผู้รับสาร (receiver) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร
จากผู้ส่งสาร และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร เช่น ผู้เข้าร่วมประชุม ผู้ฟังรายการวิทยุ กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
ความสำคัญของการสื่อสาร
การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้
1. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร
2. การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง วิถีชีวิตของผู้คน ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
3. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ
การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้
1. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร
2. การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง วิถีชีวิตของผู้คน ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
3. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ
รูปแบบของการสื่อสาร
1. แบ่งตามลักษณะกระบวนการสื่อสารได้
2 ประเภท คือ
1.1
การสื่อสารทางเดียว (One-way Communication Process) มีลักษณะเป็นการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารโดยไม่เห็นการตอบสนองในทันทีทันใด จึงดูเหมือนว่าผู้ส่งสารส่งข้อมูลเพียงผู้เดียวโดยไม่พิจารณาปฏิกิริยาโต้ตอบของผู้รับสาร
ความจริงแล้วการวิเคราะห์ผู้รับสารยังจำเป็น แต่เป็นลักษณะของการประมาณการ สุ่มข้อมูล
หรือศึกษาผู้รับสารในสภาพกว้างๆ ได้แก่ การร้องเพลง การโฆษณาทางวิทยุหรือโทรทัศน์ เป็นต้น
S = Sender ผู้ส่งสาร
S M C R
M = Message สาร
C = Channel สื่อ หรือช่องทางในการสื่อสาร
R = Receiver ผู้รับสาร
1.2 การสื่อสารแบบสองทาง
(Two-way Communication Process) เมื่อผู้ส่งสารต้องการทราบว่าสารที่ส่งไปได้ผลสมประสงค์หรือไม่
หรือผู้รับสารอาจจะแสดงปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมต่อสารที่ได้รับแล้วแสดงการโต้ตอบกลับมา
เป็นกระบวนการที่เคลื่อนไหวต่อเนื่อง ได้แก่ การสื่อสารระหว่างบุคคลหรือในกลุ่ม การเรียนในห้องเรียน
เป็นต้น
S
M C R
R C M S
Feed Back
2. แบ่งตามจำนวนของผู้ทำการสื่อสาร ได้
6 ประเภท คือ
2.1 การสื่อสารภายในตัวเอง
(Intrapersonal Communicstion) คือ ผู้สื่อสารเป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารภายในบุคคลเดียวกัน
โดยใชสัญลักษณ์ที่ตนใช้ในการสื่อสารกับผู้อื่นมาสื่อสารกับตนเอง ได้แก่ การจินตนาการ
การลำดับความคิด การอ่านจดหมาย เป็นต้น
2.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล
(Intrapersonal Person to Person /Communication) คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลตั้งแต่
2 คนขึ้นไป เช่น การสนทนา สามารถขยายไปเป็นการสื่อสารของคนในกลุ่มเล็กๆ
ประมาณ 3-15 คน(Small Group Communication) ก็ได้ เช่น การประชุมกลุ่ม เป็นต้น
2.3 การสื่อสารในกลุ่มคนมากๆ
(Large Group Communication) มักเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว คือ ผู้ส่งสารส่งข้อมูลไปยังผู้รับสารจำนวนมาก
เช่น การอภิปราย การหาเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น
2.4 การสื่อสารในองค์การ
(Organizational Communication) ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในองค์การมักมาจากการสื่อสารในองค์การทั้งสิ้น
2.5 การสื่อสารมวลชน
(Mass Communication) เป็นการสื่อสารทางเดียวจากกลุ่มผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารที่เป็นบุคคลจำนวนมากในที่ต่างๆกัน
ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น
2.6 การสื่อสารระหว่างชาติ
(International Communication) ในปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ทำให้การสื่อสารระหว่างประเทศเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้ข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งส่งมาให้อีกซีกโลกหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว
เช่น โทรศัพท์ระหว่างประเทศ อินเตอร์เนต เป็นต้น
3. แบ่งตามลักษณะการเห็นหน้าของผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
ได้ 2 ประเภท คือ
3.1 การส่งสารแบบที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถเห็นหน้ากันได้
(Face to Face Communication) เช่น การสนทนา เป็นต้น
3.2 การสื่อสารแบบไม่เห็นหน้ากัน
(Interposed Communication) เช่น โทรศัพท์ จดหมาย สื่อสารมวลชน ทำให้โอกาสที่จะได้รับปฏิกิริยาตอบโต้กลับแบบทันทีลดน้อยลง
4. แบ่งโดยคำนึงถึงภาษาที่ใช้ ได้
2 ประเภท คือ
4.1 การสื่อสารโดยใช้คำหรือตัวอักษร
(Verbal /Language Communication) ซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคุมหรือดัดแปลงได้
เช่น การพูด การเขียน เป็นต้น
4.2 การสื่อสารที่ไม่ใช้คำหรือตัวอักษร
(Nonverbal Communication) ซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคุมค่อนข้างยาก เช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย
เวลา ระยะห่างระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร วัตถุที่ใช้สื่อสาร น้ำเสียง เป็นต้น
5. แบ่งโดยวัฒนธรรม
(Cross-cultural Communication / Intercultural Communication) คือ การสื่อสารระหว่างคนที่มัวัฒนธรรมแตกต่างกัน
เช่น การติดต่อสื่อสารระหว่างคนไทยในเมืองและในชนบท
ประเภทของการสื่อสาร
การจำแนกประเภทของการสื่อสาร สามารถจำแนกได้หลายลักษณะตามเกณฑ์ และวัตถุ ประสงค์ที่จะนำมาพิจารณา โดยทั่วไปสามารถจำแนกประเภทของ การสื่อสารตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้
๑. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร ซึ่งจำแนกไก้ดังนี้
๑.๑ การสื่อสารภายในตัวบุคคล หมายถึง การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสาร และผู้รับสาร เช่นการคิดอยู่คนเดียว การอ่านหนังสืออยู่คนเดียว การพูดกับตัวเอง
๑.๒ การสื่อสารระหว่างบุคคล หมายถึง การสื่อสารที่มีบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป สื่อสารกันโดยเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับสลับกันไป มองเห็นหน้าตากัน และพูดกันได้อย่างทั่วถึง การสื่อสารประเภทนี้ถือได้ว่าเป็นการสื่อสารในลักษณะกลุ่มย่อย ที่ทุกคนสามารถได้แลกเปลี่ยนสารกันได้โดยตรง เช่น การพูดคุยกัน การสอนหนังสือในกลุ่มย่อย การประชุมกลุ่มย่อย การเขียนจดหมายโต้ตอบกัน เป็นต้น
๑.๓ การสื่อสารกลุ่มใหญ่ หมายถึง การสื่อสารระหว่างคนจำนวนมาก ไม่อาจมองเห็นหน้าตาได้อย่างทั่วถึง สมาชิกในกลุ่มไม่สามารถทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสาร และผู้รับสารกันได้ทุกคน เพราะมีระเบียบวินัยเข้ามาเกี่ยวข้อง และจำนวนสมาชิกก็มากเกินไป เช่น การบรรยายในที่ประชุม การสอนหนังสือในห้องเรียน การกล่าวคำปราศรัย การพูดหาเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น
การจำแนกประเภทของการสื่อสาร สามารถจำแนกได้หลายลักษณะตามเกณฑ์ และวัตถุ ประสงค์ที่จะนำมาพิจารณา โดยทั่วไปสามารถจำแนกประเภทของ การสื่อสารตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้
๑. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร ซึ่งจำแนกไก้ดังนี้
๑.๑ การสื่อสารภายในตัวบุคคล หมายถึง การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสาร และผู้รับสาร เช่นการคิดอยู่คนเดียว การอ่านหนังสืออยู่คนเดียว การพูดกับตัวเอง
๑.๒ การสื่อสารระหว่างบุคคล หมายถึง การสื่อสารที่มีบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป สื่อสารกันโดยเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับสลับกันไป มองเห็นหน้าตากัน และพูดกันได้อย่างทั่วถึง การสื่อสารประเภทนี้ถือได้ว่าเป็นการสื่อสารในลักษณะกลุ่มย่อย ที่ทุกคนสามารถได้แลกเปลี่ยนสารกันได้โดยตรง เช่น การพูดคุยกัน การสอนหนังสือในกลุ่มย่อย การประชุมกลุ่มย่อย การเขียนจดหมายโต้ตอบกัน เป็นต้น
๑.๓ การสื่อสารกลุ่มใหญ่ หมายถึง การสื่อสารระหว่างคนจำนวนมาก ไม่อาจมองเห็นหน้าตาได้อย่างทั่วถึง สมาชิกในกลุ่มไม่สามารถทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสาร และผู้รับสารกันได้ทุกคน เพราะมีระเบียบวินัยเข้ามาเกี่ยวข้อง และจำนวนสมาชิกก็มากเกินไป เช่น การบรรยายในที่ประชุม การสอนหนังสือในห้องเรียน การกล่าวคำปราศรัย การพูดหาเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น
๑.๔
การสื่อสารองค์การ เป็นการสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน หรือหน่วยงานกับบุคคล
โดยเนื้อหาของสาร และวัตถุประสงค์ในการสื่อสารเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภารกิจ
และงานขององค์การ หรือหน่วยงานเท่านั้น เช่น การสื่อสารในบริษัท
การสื่อสารในหน่วยราชการ การสื่อสารในโรงงานอุตสาหกรรม เป็น ต้น
๑.๕ การสื่อสารมวลชน หมายถึงการสื่อสารที่มีไปยังประชาชนจำนวนมากในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ซึ่งประชาชนจะอยู่กระจัดกระจายทั่วไป เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องอาศัยสื่อเป็นสื่อมวลชนซึ่งมีอยู่ ๔ ชนิด ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์ เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
๒. จำแนกตามลักษณะการใช้ภาษา จำแนกได้ ๒ ประเภท คือ
๒.๑ การสื่อสารที่ใช้ภาษาถ้อยคำ หรือการสื่อสารเชิงวัจนภาษา เป็นการสื่อสารที่อยู่ในภาษาพูดหรือภาษาเขียน ได้แก่ การสื่อสารที่ใช้ ภาษาพูดและภาษาเขียน เช่น การพูดบรรยาย การอภิปราย การเขียนหนังสือ เป็นต้น
๒.๒ การสื่อสารที่ไม่ใช้ภาษาถ้อยคำ หรือการสื่อสารเชิงอวัจนภาษา เป็นการสื่อสารที่ไม่ได้อยู่ในภาษาพูดหรือภาษาเขียน ได้แก่ การสื่อสาร ที่ใช้อากัปกริยาท่าทาง หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น กริยาอาการ สิ่งของ เวลา ร่างกาย สถานที่ น้ำเสียง เป็นต้น
๓. จำแนกโดยถือเกณฑ์เห็นหน้าค่าตากัน คือ ยึดเอาตำแหน่งที่อยู่ของผู้ส่งสาร และผู้รับสารเป็นหลักพิจารณา จำแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
๓.๑ การสื่อสารแบบเผชิญหน้าหรือการสื่อสารทางตรง เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสาร และผู้รับสารอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นกัน โต้ตอบซักถามกันได้ทันทีทันใด และมองเห็นอากัปกริยาซึ่ง กันและกันได้ตลอดเวลาที่ทำการสื่อสาร เช่น การสนทนากัน การเรียนการสอนในห้องเรียน การประชุมสัมมนา เป็นต้น
๓.๒ การสื่อสารแบบไม่เห็นหน้าหรือการสื่อสารทางอ้อม เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันทั้งสถานที่และเวลา ไม่สามารถซักถามหรือตอบโต้ได้ในทันทีทันใดและไม่สามารถสังเกตกริยาท่าทางซึ่งกันและกันได้ โดยจะอาศัยสื่อกลางเข้ามาช่วย เช่น โทรเลขหนังสือพิมพ์ จดหมาย เป็นต้น
๔.จำแนกโดยถือเกณฑ์ความสามารถในการโต้ตอบกัน
๔.๑ การสื่อสารทางเดียว เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่มีโอกาสได้โต้ตอบกัน อาจะเห็นหน้าหรือไม่เห็นก็ได้ โดยผู้ส่งสารไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสารได้พูด หรือโต้ตอบกัน เช่น ครูกำลังสอนนักเรียน โดยไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม หรือแสดงความคิดเห็นเลย
๔.๒ การสื่อสารสองทาง เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถตอบโต้ได้ขณะทำการสื่อสาร เช่น การคุยตอบโต้กันทางโทรศัพท์ การเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม หรือแสดงความคิดเห็น
๕. จำแนกประเภทตามเกณฑ์ความแตกต่างระหว่างผู้รับสารกับผู้ส่งสาร มี ๓ ประเภท คือ
๕.๑ การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างเชื้อชาติ เป็นคนละภาษา ดังนั้นการสื่อสารประเภทนี้ผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องศึกษาภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ของผู้ที่ตน เองสื่อสารด้วย เช่น ชาวไทยสื่อสารกับชาวอังกฤษ เป็นต้น ไม่เช่นนั้นการสื่อสารอาจจะล้มเหลวได้
๕.๒ การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เป็นการสื่อสารของคนต่างวัฒนธรรมกัน ซึ่งผู้ ส่งสารและผู้รับสารอาจเป็นคนในประเทศเดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน เช่น การสื่อสารระหว่างคนไทยภาคกลาง กับภาคเหนือ คนไทยพื้นราบกับคนไทยถูเขา เป็นต้น
๕.๓ การสื่อสารระหว่างประเทศ เป็นการสื่อสารในระดับชาติ ผู้ส่งสารและผู้รับสาร จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทนของชาติ การสื่อสารประเภทนี้มักเป็นการสื่อสารที่เป็นทางการ
๖. จำแนกโดยถือลักษณะเนื้อหาวิชา จำแนกได้ ๘ ประเภท คือ
๖.๑ ประเภทข่าวสาร เป็นการสื่อสารที่เน้นเอาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับระบบข่าวสาร นำ ไปประยุกต์ใช้กับงานด้านการกระจายข่าว การส่งข่าว การนำข้อมูลที่เก็บไว้มาใช้ ตลอดจนการพัฒนาวิธี วิเคราะห์ระบบข่าวสาร
๖.๒ การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการสื่อสารที่มุ่งถึงทฤษฎีการสื่อสารใน สถานการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่การสื่อสารแบบตัวต่อตัว การสื่อสารกลุ่มย่อย ตลอดจนการสื่อสารกลุ่มใหญ่
๖.๓ การสื่อสารมวลชน เป็นการสื่อสารที่มุ่งส่งสารไปสู่คนจำนวนมากซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆ ให้ได้รับสารเดียวกันในเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน
๖.๔ การสื่อสารการเมือง เป็นการสื่อสารที่มีเนื้อหาไปในทางการเผยแพร่ข่าวสารการ เมือง การประชาสัมพันธ์หาเสียง การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับระบบการเมือง การเลือกตั้งตลอดจนระบอบ การปกครอง
๖.๕ การสื่อสารในองค์การ เป็นการสื่อสารที่มีเนื้อหาให้ทราบถึงประสิทธิผลของ การดำเนินงานในองค์การ หรือหน่วยงานทั้งในการบริหารและการจัดการ
๖.๖ การสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล หมายถึง บุคคลในประเทศเดียวกัน สื่อสารต่างๆวัฒนธรรมกัน หรือการสื่อสารกับบุคคลต่างประเทศ ต่างเชื้อชาติกัน เนื้อหาของสารก็ย่อมเกี่ยวข้องกับทฤษฎี และพฤติกรรมทางวัฒนธรรมด้วย
๖.๗ การสื่อสารการสอน เป็นการสื่อสารที่มีเนื้อหามุ่งเน้นถึงหลักวิชาการ การวิจัย การถ่ายทอดความรู้ ซึ่งอาจจะอยู่ในระบบการสอน หรือเทคโนโลยีการสอน เช่น การสอนในห้องเรียน การสอนระบบทางไกล เป็นต้น
๖.๘ การสื่อสารสาธารณสุข เป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นเนื้อหาในการพัฒนาสุขภาพ พัฒนาคุณภาพของชีวิตของประชาชน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาระบบการสาธารณสุข การเผยแพร่ โน้มน้าว ใจให้ประชาชนตระหนักในการพัฒนาสุขภาพพลานามัย
๑.๕ การสื่อสารมวลชน หมายถึงการสื่อสารที่มีไปยังประชาชนจำนวนมากในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ซึ่งประชาชนจะอยู่กระจัดกระจายทั่วไป เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องอาศัยสื่อเป็นสื่อมวลชนซึ่งมีอยู่ ๔ ชนิด ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์ เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
๒. จำแนกตามลักษณะการใช้ภาษา จำแนกได้ ๒ ประเภท คือ
๒.๑ การสื่อสารที่ใช้ภาษาถ้อยคำ หรือการสื่อสารเชิงวัจนภาษา เป็นการสื่อสารที่อยู่ในภาษาพูดหรือภาษาเขียน ได้แก่ การสื่อสารที่ใช้ ภาษาพูดและภาษาเขียน เช่น การพูดบรรยาย การอภิปราย การเขียนหนังสือ เป็นต้น
๒.๒ การสื่อสารที่ไม่ใช้ภาษาถ้อยคำ หรือการสื่อสารเชิงอวัจนภาษา เป็นการสื่อสารที่ไม่ได้อยู่ในภาษาพูดหรือภาษาเขียน ได้แก่ การสื่อสาร ที่ใช้อากัปกริยาท่าทาง หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น กริยาอาการ สิ่งของ เวลา ร่างกาย สถานที่ น้ำเสียง เป็นต้น
๓. จำแนกโดยถือเกณฑ์เห็นหน้าค่าตากัน คือ ยึดเอาตำแหน่งที่อยู่ของผู้ส่งสาร และผู้รับสารเป็นหลักพิจารณา จำแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
๓.๑ การสื่อสารแบบเผชิญหน้าหรือการสื่อสารทางตรง เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสาร และผู้รับสารอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นกัน โต้ตอบซักถามกันได้ทันทีทันใด และมองเห็นอากัปกริยาซึ่ง กันและกันได้ตลอดเวลาที่ทำการสื่อสาร เช่น การสนทนากัน การเรียนการสอนในห้องเรียน การประชุมสัมมนา เป็นต้น
๓.๒ การสื่อสารแบบไม่เห็นหน้าหรือการสื่อสารทางอ้อม เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันทั้งสถานที่และเวลา ไม่สามารถซักถามหรือตอบโต้ได้ในทันทีทันใดและไม่สามารถสังเกตกริยาท่าทางซึ่งกันและกันได้ โดยจะอาศัยสื่อกลางเข้ามาช่วย เช่น โทรเลขหนังสือพิมพ์ จดหมาย เป็นต้น
๔.จำแนกโดยถือเกณฑ์ความสามารถในการโต้ตอบกัน
๔.๑ การสื่อสารทางเดียว เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่มีโอกาสได้โต้ตอบกัน อาจะเห็นหน้าหรือไม่เห็นก็ได้ โดยผู้ส่งสารไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสารได้พูด หรือโต้ตอบกัน เช่น ครูกำลังสอนนักเรียน โดยไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม หรือแสดงความคิดเห็นเลย
๔.๒ การสื่อสารสองทาง เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถตอบโต้ได้ขณะทำการสื่อสาร เช่น การคุยตอบโต้กันทางโทรศัพท์ การเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม หรือแสดงความคิดเห็น
๕. จำแนกประเภทตามเกณฑ์ความแตกต่างระหว่างผู้รับสารกับผู้ส่งสาร มี ๓ ประเภท คือ
๕.๑ การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างเชื้อชาติ เป็นคนละภาษา ดังนั้นการสื่อสารประเภทนี้ผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องศึกษาภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ของผู้ที่ตน เองสื่อสารด้วย เช่น ชาวไทยสื่อสารกับชาวอังกฤษ เป็นต้น ไม่เช่นนั้นการสื่อสารอาจจะล้มเหลวได้
๕.๒ การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เป็นการสื่อสารของคนต่างวัฒนธรรมกัน ซึ่งผู้ ส่งสารและผู้รับสารอาจเป็นคนในประเทศเดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน เช่น การสื่อสารระหว่างคนไทยภาคกลาง กับภาคเหนือ คนไทยพื้นราบกับคนไทยถูเขา เป็นต้น
๕.๓ การสื่อสารระหว่างประเทศ เป็นการสื่อสารในระดับชาติ ผู้ส่งสารและผู้รับสาร จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทนของชาติ การสื่อสารประเภทนี้มักเป็นการสื่อสารที่เป็นทางการ
๖. จำแนกโดยถือลักษณะเนื้อหาวิชา จำแนกได้ ๘ ประเภท คือ
๖.๑ ประเภทข่าวสาร เป็นการสื่อสารที่เน้นเอาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับระบบข่าวสาร นำ ไปประยุกต์ใช้กับงานด้านการกระจายข่าว การส่งข่าว การนำข้อมูลที่เก็บไว้มาใช้ ตลอดจนการพัฒนาวิธี วิเคราะห์ระบบข่าวสาร
๖.๒ การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการสื่อสารที่มุ่งถึงทฤษฎีการสื่อสารใน สถานการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่การสื่อสารแบบตัวต่อตัว การสื่อสารกลุ่มย่อย ตลอดจนการสื่อสารกลุ่มใหญ่
๖.๓ การสื่อสารมวลชน เป็นการสื่อสารที่มุ่งส่งสารไปสู่คนจำนวนมากซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆ ให้ได้รับสารเดียวกันในเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน
๖.๔ การสื่อสารการเมือง เป็นการสื่อสารที่มีเนื้อหาไปในทางการเผยแพร่ข่าวสารการ เมือง การประชาสัมพันธ์หาเสียง การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับระบบการเมือง การเลือกตั้งตลอดจนระบอบ การปกครอง
๖.๕ การสื่อสารในองค์การ เป็นการสื่อสารที่มีเนื้อหาให้ทราบถึงประสิทธิผลของ การดำเนินงานในองค์การ หรือหน่วยงานทั้งในการบริหารและการจัดการ
๖.๖ การสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล หมายถึง บุคคลในประเทศเดียวกัน สื่อสารต่างๆวัฒนธรรมกัน หรือการสื่อสารกับบุคคลต่างประเทศ ต่างเชื้อชาติกัน เนื้อหาของสารก็ย่อมเกี่ยวข้องกับทฤษฎี และพฤติกรรมทางวัฒนธรรมด้วย
๖.๗ การสื่อสารการสอน เป็นการสื่อสารที่มีเนื้อหามุ่งเน้นถึงหลักวิชาการ การวิจัย การถ่ายทอดความรู้ ซึ่งอาจจะอยู่ในระบบการสอน หรือเทคโนโลยีการสอน เช่น การสอนในห้องเรียน การสอนระบบทางไกล เป็นต้น
๖.๘ การสื่อสารสาธารณสุข เป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นเนื้อหาในการพัฒนาสุขภาพ พัฒนาคุณภาพของชีวิตของประชาชน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาระบบการสาธารณสุข การเผยแพร่ โน้มน้าว ใจให้ประชาชนตระหนักในการพัฒนาสุขภาพพลานามัย
เกณฑ์การแบ่ง
ประเภทของการสื่อ
เกณฑ์การแบ่ง
|
ประเภทของสื่อ
|
ตัวอย่าง
|
1. แบ่งตามวิธีการเข้า
และ ถอดรหัส
|
สื่อวัจนะ (verbal)
สื่ออวัจนะ (nonverbal) |
-คำพูด ตัวเลข
-สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง -หนังสือพิมพ์ รูปภาพ |
2. แบ่งตามประสาทการรับรู้
|
สื่อที่รับรู้ด้วยการเห็น
สื่อที่รับรู้ด้วยการฟัง สื่อที่รู้ด้วยการเห็นและการฟัง |
-นิตยสาร
-เทป วิทยุ -โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ |
3. แบ่งตามระดับการสื่อสาร
หรือจำนวนผู้รับสาร
|
สื่อระหว่างบุคคล
สื่อในกลุ่ม สื่อสารมวลชน |
-โทรศัพท์ จดหมาย
-ไมโครโฟน -โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ |
4. แบ่งตามยุคสมัย
|
สื่อดั้งเดิม
สื่อร่วมสมัย สื่ออนาคต |
-เสียงกลอง ควันไฟ
-โทรศัพท์ โทรทัศน์ เคเบิล -วีดิโอเทกซ์ |
5. แบ่งตามลักษณะของสื่อ
|
สื่อธรรมชาติ
สื่อมนุษย์หรือสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อระคน |
-อากาศ แสง เสียง
-คนส่งของ ไปรษณีย์ โฆษก -หนังสือ นิตยสาร ใบปลิว -วิทยุ วีดิทัศน์ -ศิลาจารึก สื่อพื้นบ้าน หนังสือ ใบข่อย |
6. แบ่งตามการใช้งาน
|
สื่อสำหรับงานทั่วไป
สื่อเฉพาะกิจ |
-จดหมายเวียน โทรศัพท์
วารสาร จุดสาร วีดิทัศน์ |
7. แบ่งตามการมีส่วนร่วม
ของผู้รับสาร |
สื่อร้อน
สื่อเย็น |
-การพูด
-การอ่าน |
กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) หมายถึงการส่งสารจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง
ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบการสื่อสารขั้นต้น วิธีที่ใช้มากที่สุด คือ การพูด การฟัง และการใช้กิริยาท่าทาง
รูปแบบของกระบวนการสื่อสาร
ต้นตอ ผู้แปลสาร ช่องทาง ผู้แปลสาร จุดหมาย
(ความคิด) (ผู้ส่งสาร) (สื่อ) (ผู้รับสาร) ปลายทาง
ปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feed Back)
เกี่ยวกับกระบวนการนี้ เรามักมุ่งสังเกตปฏิกิริยาโต้ตอบเป็นสำคัญ
กิริยาโต้ตอบแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ คือ
1. ปฏิกิริยาโต้ตอบในทางบวก (Positive) รับแล้วพอใจ กระตือรือร้นที่จะส่งสารออกไป
2. ปฏิกิริยาโต้ตอบในทางลบ
(Negative) จะมีผลเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ คือ
2.1 ปฏิกิริยาต่อต้านและจะทำต่อไป
2.2 ปฏิกิริยาที่จะหยุดการส่งสารทันที
การส่งสารที่ดีต้องอาศัยคุณสมบัติของผู้ส่งสาร
ผู้รับสาร และสภาพแวดล้อม การสื่อสารมี 5 รูปแบบ
คือ
1. การพูด ผู้พูดต้องพูดให้ผู้ฟังเข้าใจ ไม่พูดสับสน
หรือก่อให้เกิดความรำคาญ หรือโกรธเคือง
2. การฟัง ผู้ฟังต้องฟังอย่างตั้งใจ ไม่ทำสิ่งรบกวนผุ้พูด
ต้องพยายามเข้าใจความหมายและความรู้สึกของผู้พูด อย่าบิดเบือนความเข้าใจต่อสารที่ได้รับ
3. การเขียน ผู้เขียนต้องเขียนให้แจ่มชัด อักษรชัดเจน
ขนาดอ่านได้สะดวก ควรใช้คำที่แสดงความต้องการหรือความรู้สึกให้ผู้อ่านเข้าใจ
4. การอ่าน ผู้อ่านต้องพยายามอ่านให้เข้าใจผู้เขียนโดยไม่บิดเบือนเจตนาของผู้เขียนและอ่านด้วยความสุจริตใจ
5. การใช้กริยา ผู้ส่งสารและผู้รับสารอาจจะใช้ท่าทางประกอบการสื่อสารระหว่างกันและกันเพื่อทำให้การสื่อสารมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
การพูด การฟัง การอ่าน การเขียน ใช้วัจนะภาษาเป็นองค์ประกอบ
การใช้กริยา ใช้อวัจนะภาษาเป็นองค์ประกอบ
ขั้นตอนในการสื่อสาร (Stages in Communication)
ในการสื่อสารจะเกิดขั้นตอนเรียงตามลำดับดังนี้
1. ระยะแรกความต้องการการสื่อสาร
คือสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้บุคคลต้องการสื่อสารหรือทำการสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งเร้าภายนอก
เช่น จดหมาย ข้อสังเกตจากการสังเกตเห็นผู้อื่น เกิดความคิดขึ้น ระยะนี้จะเกิดจุดมุ่งหมายของการสื่อสารและผู้ฟังด้วย
2. ระยะที่สอง สารถูกสร้างขึ้น
ระยะนี้ความคิดหรือการวิจัยค้นคว้าจะเกิดขึ้นก่อน แล้วตามด้วยการตัดสินใจเกี่ยวกับเนื้อหาของสาร
3. ระยะที่สาม
การตัดสินใจที่จะใช้ช่องทางสื่อ และรูปแบบของการสื่อสารเกิดขึ้น
4. ระยะที่สี่
สารถูกส่งออกไป
5. ระยะที่ห้า
ผู้ฟังได้รับสารและเข้าใจจุดมุ่งหมายของการสื่อสารซงเป็นที่เข้าใจได้ว่า การสื่อสารสำเร็จตามวัตถุประสงค์
วงจรเช่นนี้จะเริ่มขึ้นอีกถ้าผู้ฟังมีการสื่อสารกลับ
สิ่งสะกัดกั้นของการสื่อสาร (Barrier) หมายถึง สิ่งที่มาทำให้การสื่อสารหยุดชะงักระหว่างการสื่อสาร
(Communication Breakdown) ทำให้การสื่อสารไม่สำเร็จหรือไม่บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ
ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุต่างๆกัน ดังนี้
1. สิ่งสะกัดกั้นการสื่อสารที่เกิดจากตัวผู้ส่งสารเอง
เช่น ผู้ส่งสารมีความรู้มาก แต่ไม่สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
2. สิ่งสะกัดกั้นการสื่อสารที่เกิดจากตัวสาร
เช่น ข้อความในสารไม่ชัดเจน
3. สิ่งสะกัดกั้นการสื่อสารที่เกิดจากตัวสื่อหรือช่องทาง
เช่น ผู้รับสารนั่งไกลเกินกว่าจะได้รับสารได้ถนัด
4. สิ่งสะกัดกั้นการสื่อสารที่เกิดจากตัวผู้รับสาร
เช่น ผู้รับสารมีทัศนคติ ความรู้ และอยู่ในระบบวัฒนธรรม สังคมที่แตกต่างจากผู้ส่งสาร
5. สิ่งสะกัดกั้นการสื่อสารที่เกิดจากสิ่งรบกวน
เช่น ผู้รับสารง่วงนอนหรือหลับใน
6. สิ่งสะกัดกั้นการสื่อสารที่เกิดจากประสบการณ์
เช่น ความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารในเรื่อง วัย ประสบการณ์ ทัศนคติ ระบบสังคมและวัฒนธรรม
หรือภูมิหลัง จึงทำให้ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน
การเลือกใช้สื่อในการสื่อสาร (Media of Communication)
การสื่อสารด้วยการเขียน
รูปแบบของการเขียนที่ใช้ทางธุรกิจมีหลายแบบ เช่น ข้อความสั้นๆ บันทึกข้อความ คำแถลงการณ์
ประกาศ จดหมาย รายงาน แบบสอบถาม แบบฟอร์มหนังสือ วารสาร โฆษณา ฯลฯ
การสื่อสารด้วยการเขียนมีข้อดีข้อเสีย
ดังนี้
ข้อดี
ข้อดี
ก. เป็นสื่อที่มีความคงทนถาวร
ข. ช่วยหลีกเลี่ยงการพบปะเป็นการส่วนตัว
ค. เหมาะกับข้อความที่ยาวและยากซึ่งต้องการศึกษาอย่างละเอียด
ง. เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นทางการมากกว่าสื่อด้วยวิธีอื่นๆ
ใช้เป็นหลักฐานได้
จ. สะดวกในการติดต่อกับคนเป็นจำนวนมาก
ข้อเสีย
ก. ราคาแพง
มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น เลขานุการ เครื่องพิมพ์ดีด ค่าไปรษณียากร เป็นต้น
ข. เสียเวลาในการผลิต
ค. มีความล่าช้าเพราะการขนส่ง
ง. เสียเวลาในการเลือกใช้ภาษา
เพื่อไม่ให้ผิดพลาดในการสื่อสาร
จ. ความคงทนถาวร
ทำให้ยากต่อการแก้ไขเมื่อทำผิดพลาดไป
2. การสื่อสารด้วยวาจา
ได้แก่ การพูดโทรศัพท์ การพูดในที่ประชุม การให้สัมภาษณ์ และการพูดในทุกๆที่ การสื่อสารด้วยวาจามี
2 ลักษณะ คือ การพูดแบบเผชิญหน้ากัน และการพูดแบบไม่เผชิญหน้ากัน การสื่อสารด้วยวาจามีข้อดี
ข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี
ก. สะดวก
รวดเร็ว เช่น การใช้โทรศัพท์
ข. ประหยัดเงิน
การใช้โทรศัพท์ในท้องถิ่นเดียวกันย่อมถูกกว่าการเขียนจดหมาย
ค. เน้นความสำคัญของข้อความได้
โดยการเน้นคำพูด ความดังของเสียง จังหวะในการพูดและน้ำเสียง ช่วยเน้นให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่พูดได้
ง. การสื่อสารด้วยวาจา
เป็นวิธีที่ไม่เป็นทางการที่สุดในบรรดาวิธีการสื่อสารต่างๆที่ใช้ เช่น การพูดคุยเล่นระหว่างทาง
จ. คนส่วนมายอมรับการพูดซ้ำๆได้มากกว่าการเขียนซ้ำๆ
ทำให้การสื่อสารด้วยวาจาดูง่ายกว่า เพราะไม่ต้องคอยระมัดระวังมาก
ข้อเสีย
ก. ผู้พูดต้องพูดจาให้ถูกต้องชัดเจน
ข. ส่วนใหญ่ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร จึงถูกบิดเบือนได้ง่าย
เมื่อมีการส่งข้อความต่อๆกันไป
ค. คนส่วนมากมักจำสิ่งที่ได้ยินเพียงครั้งเดียวไม่ค่อยได้
ง.การสื่อสารด้วยวาจาเป็นวิธีที่ไม่ได้ผลมากที่สุด
ในกรณีที่ผูพูดต้องการความแน่ใจว่าตนได้สื่อสารกับคนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ
จ. คนส่วนใหญ่ไม่ระมัดระวังมากเมื่อสื่อสารด้วยวาจา
ในการสื่อสารด้วยวาจาแบบเผชิญหน้ากัน
นอกจากคำพูดแล้ว ปฏิกิริยาและอวัยวะต่างๆของร่างกายก็มีส่วนเกี่ยวข้องในการสื่อสารด้วย
การแสดงออกของสีหน้า การสบตา การใช้มือ ท่าทาง ระยะห่างระหว่างคู่สนทนา ตลอดจนการสัมผัสกัน
สิ่งเหล่านี้คือการสื่อสารแบบ อวัจนะภาษา (Non-Verbal
Communication)
3. การสื่อสารด้วยรูปหรือภาพต่างๆ
เช่น ภาพลายเส้น ป้ายประกาศ ภาพถ่าย เป็นต้น รวมถึงอุปกรณ์โสตทัศนศึกษาที่ใช้ในการฝึกและสอนทั้งหมด
เช่น โทรทัศน์วงจรปิด แผ่นโปร่งใส ภาพยนตร์ ซึ่งมีข้อดี ข้อเสียดังนี้
ข้อดี
1. สามารถดึงดูดความสนใจได้ดี
2. ทำให้สะดุดตา เช่นป้ายโฆษณา
3. ใช้เป็นที่เข้าใจได้ตรงกัน เช่น ป้ายจราจร
ข้อเสีย
1. ใช้ได้กับเฉพาะวิชาที่เป็นรูปธรรม
2. แบบเรียบๆไม่ตกแต่งมากจะดึงดูดความสนใจได้มากกว่าข้อความที่ยากๆ
แต่อาจต้องใช้รูปภาพเป็นชุดต่อๆกันในการสื่อสาร
ภาษาเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารเนื่องจากภาษาทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่ทำให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจตรงกัน
ในกระบวนการสื่อสารผูส่งสารจะต้องแปรสาร อันได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ ตลอดจนข้อเท็จจริงต่างๆ
ส่งผู้รับสารโดยทำให้เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งก็คือ “ภาษา”
นั่นเอง
ภาษา หมายถึง เครื่องมือที่ใช้สื่อสารทไความเข้าใจระหว่างมนุษย์
ซึ่งทำได้หลายวิธีทั้งโดยใช้เสียง กิริยาท่าทาง ถ้อยคำ ฯลฯ อย่างไรก็ดี วิธีการเหล่านี้ต้องมีระเบียบและการกำหนดรู้ความหมายเป็นข้อตกลงร่วมกันจึงจะนับว่าเป็นภาษา
การศึกษาเรื่องธรรมชาติของภาษาเป็นการศึกษาความเป็นไปของภาษาว่ามีลักษณะอย่างไร
เพื่อนำภาษาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตลอดจนทำให้ผู้ศึกษามีความระมัดระวังในการใช้ภาษาอีกด้วย
ธรรมชาติของภาษามีหลายประการ ดังนี้
1. ภาษาเป็นพฤติกรรมทางสังคม ภาษาเกิดจากการเรียนรู้
เลียนแบบ ถ่ายทอดจากบุคคลในสังคมเดียวกัน มิใช่เกิดสัญชาตญาณหรือพันธุกรรม เช่น เด็กไทยไปอยู่กับครอบครัวชาวอังกฤษตั้งแต่เป็นทารก
ก็จะพูดภาษาอังกฤษเหมือนบุคคลในครอบครัวนั้น
2. ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารของมนุษย์ มนุษย์กำหนดภาษาขึ้นใช้เพื่อความหมายระหว่างมนุษย์
ภาษาเป็นตัวกลางถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้อการของบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่งทไให้เกิดความเข้าใจกัน
การสื่อสารของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นการฟัง การพูด การอ่าน หรือการเขียนต้องอาศัยภาษาทั้งสิ้น
หากปราศจากภาษามนุษย์ก็จะไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
3. ภาษามีโครงสร้างที่เป็นระบบระเบียบ มีโครงสร้างที่มีลักษณะเฉพาะ
มีระบบกฎเกณฑ์ที่แน่นอนซึ่งทำให้มนุษย์เข้าใจและเรียนรู้ภาษานั้นๆได้ และสามารถสื่อความเข้าใจกับบุคคลอื่นได้โดยใช้ระบบสื่อความหมายเดียวกัน
การศึกษาโครงสร้างของภาษาจึงเป็นสิ่งจำเป็น
4. ภาษาประกอบไปด้วยเสียงและความหมาย เสียงที่มนุษย์ได้ยินมีทั้งที่มีความหมายและไม่มีความหมาย
แต่เสียงที่มีความหมายจึงนับว่าเป็นภาษา เนื่องจากความหมายเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดภาษา
ลักษณะในข้อนี้จะไม่รวมไปถึงภาษาสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ภาษามือของคนหูหนวก หรืออักษรเบรลล์ของคนตาบอด
5. ภาษาผูกพันกับวัฒนธรรมในสังคม เนื่องจากภาษาถูกกำหนดโดยคนในสังคม
ดังนั้นภาษาจึงมีลักษณะสอดคล้องกับวัฒนธรรมของสังคมนั้น เช่น ในสังคมไทยมีระบบอาวุโส
ภาษาไทยจึงมีเรื่องระดับของภาษาเข้ามาเกี่ยวข้อง เรียกได้ว่าภาษามีความผูกพันกับวัฒนธรรมอย่างแยกกันไม่ออกที่เดียว
6. ภาษามีการเปลี่ยนแปลงได้ ภาษาอาจเกิดขึ้นใหม่ตามความนิยมตามวัฒนธรรมหรือวิทยาการใหม่ๆ
อาจเกิดจากการสร้างคำ การยืมคำ ฯลฯ ทำให้มีคำใช้ในภาษามากขึ้น และหากภาษาหรือคำที่ไม่มีผู้ใช้สืบต่อกันมาก็จะตายไป
เช่น ภาษากรีก ภาษาสันสกฤต เป็นต้น
ภาษากับการสื่อสาร
ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความคิดความเข้าใจระหว่างกัน
โดยทั่วไปภาษามีหน้าที่หลัก 3 ประการ
คือ
1. ให้ข้อเท็จจริง ภาษาจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามปรากฏการณ์ที่เป็นจริง
หรือไม่เป็นจริง อย่างตรงไปตรงมาโดยนคำนึงถึงเนื้อหาเป็นหลัก และอาจมีการอธิบายหรือให้เหตุผลด้วย
เช่น การเขียนข่าว การเขียนตำรา การเขียนรายงาน
2. แสดงความรู้สึก ภาษาที่ทำหน้าที่นี้จะบรรยายความรู้สึกต่างๆ
ของมนุษย์ มีลักษณะการเร้าอารมณ์ให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านคล้อยตามหรือเกิดอารมณ์เดียวกันกับผู้พูดหรือผู้เขียน
โดยไม่มีจุดมุ่งหมายให้ข้อเท็จจริงเป็นหลัก เช่น การโฆษณา งานประพันธ์
3. ให้ข้อคิดเห็น ภาษาที่ทำหน้าที่นี้มุ่งให้เกิดการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ให้เกิดการกระทำอย่างใดอย่างหนึ้ง
เช่น การขอร้อง คาสั่ง หรือการแนะนำ ตัวอย่างงานเขียนที่ใช้ภาษาลักษณะนี้ คือ บทความ
คำขวัญ การโฆษณา คำปราศรัยหาเสียง
ภาษาที่ใช้แบ่งเป็น
2 ประเภท คือ
1. วัจนภาษา (Verbal Language) หมายถึง ภาษาที่ใช้ถ้อยคำหรือลายลักษณ์อักษรในการสื่อความหมาย
ภาษาพูดหรือถ้อยคำ คือเสียงที่มนุษย์ตกลงกันให้ทำหน้าที่แทนมโนภาพของสิ่งของต่างๆที่มนุษย์ด้วยกันสามารถรับรู้ได้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ
อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย และเมื่อมนุษย์มีความเจริญมากขึ้นจึงได้คิดเครื่องหมายแทนเสียงพูด
และเขียนลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็น ภาษาเขียน ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนจึงจัดเป็นวัจนภาษา
2. อวัจนภาษา (Nonverbal Language) หมายถึง ภาษาที่เกิดจากกิริยาท่าทางต่างๆที่ปรากฏออกมาทางร่างกายของมนุษย์รวมทั้งเครื่องหมายหรือสัญญาณอื่นๆ
ที่สามารถสื่อความหมายได้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กายภาษา (Body
Language) แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้
2.1 เทศภาษา (proxemics) หมายถึง ภาษาที่ปรากฏขึ้นจากลักษณะของสถานที่ที่บุคคลทำการสื่อสารกันอยู่
รวมทั้งจากช่วงระยะเวลาที่บุคคลทำการสื่อสารอยู่ห่างกัน ทั้งสถานที่และช่วงระยะจะแสดงให้เห็นความหมายบางประการที่อยู่ในจิตสำนึกของบุคคลผู้กำลังสื่อสารนั้นได้
เช่น การต้อนรับเพื่อนสนิทในห้องนอนแต่ต้อนรับบุคคลอื่นในห้องรับแขก หรือการนั่งชิดกับเพื่อน
แต่นั่งห่างจากอาจารย์พอสมควร
2.2 กาลภาษา ( chonemics) หมายถึง การสื่อสารที่เกิดจากการใช้เวลาเพื่อแสดงเจตนาของผู้ส่งสารที่จะก่อให้เกิดความหมายเป็นพิเศษแก่ผู้รับสาร
เช่น การที่นักศึกษาเข้าเรียนตรงตามเวลาแสดงถึงความสนใจเรียนและให้เกียรติแก่อาจารย์ผู้สอน
หรือการที่ชายหนุ่มนั่งรอหญิงสาวเป็นเวลานานย่อมแสดงว่าเขาให้ความสำคัญแก่หญิงสาวนั้นมาก
2.3 เนตรภาษา (oculesics) หมายถึง อวัจนภาษาที่เกิดจากการใช้ดวงตาหรือสายตาเพื่อสื่ออารมณ์
ความรู้สึกนึกคิด ความประสงค์และทัศนคติบางประการในตัวผู้ส่งสาร เช่น การสบตา การจ้องหน้า
การหลบสายตา การชำเลือง
2.4 สัมผัสภาษา (haptics) หมายถึง การใช้อาการสัมผัสเพื่อสื่อสารความรู้สึกและอารมณ์ตลอดจนความปรารถนาที่ฝังลึกอยู่ในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
เช่น การจับมือ การคล้องแขน การโอบกอด การจุมพิต
2.5 อาการภาษา (kinesics) หมายถึง อวัจนภาษาที่อยู่ในรูปของการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสื่อสาร
อันได้แก่การเคลื่อนไหวศีรษะ แขน ขา และลำตัว เช่น การก้มศีรษะ การไหว้ การนั่งไขว้ห้าง
การหมอบคลาน
2.6 วัตถุภาษา (obiectics) หมายถึง การใช้และเลือกวัตถุมาใช้เพือ่แสดงความหมายบางประการให้ปรากฏ
เช่น เครื่องแต่งกาย การจัดแต่งบ้าน การเลือกใช้เครื่องประดับ ซึ่งวัตถุเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นสารบอกกิจกรรม
ภารกิจ สถานภาพ รสนิยม ตลอดจนนิสัยของบุคคลได้
2.7 ปริภาษา (vocalics) หมายถึง การใช้น้ำเสียงประกอบถ้อยคำที่พูดออกไป
เช่น การเน้นเสียงพูด ความดัง ระดับความทุ้มแหลม ความเร็ว จังหวะความชัดเจน และคุณภาพของน้ำเสียง
น้ำเสียงที่เปล่งออกไปนี้ไม่ใช่ถ้อยคำ แต่แนบสนิทอยู่โดยรอบถ้อยคำและมีความสำคัญมากในการสื่อความหมาย
ในการสื่อสารย่อมใช้ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาประกอบกัน
ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กันเป็น 5 ลักษณะ
ดังนี้
1. ตรงกัน การแสดงออกโดยไม่ใช้คำพูดอาจทำให้เกิดความหมายซ้ำกับคำพูดได้
เช่นการพยักหน้ายอมรับพร้อมกับพูดว่า “ใช่”
2. แย้งกัน บางครั้งพฤติกรรมของบุคคลอาจจะแย้งกับคำพูดของบุคคลผู้นั้นเอง
เช่น ลำไยชูภาพให้เพื่อนดูแล้วถามว่า “สวยไหม” เพื่อนตอบว่า “สวยดี” แต่ไม่ได้จับตาดูภาพนั้นเลยกลับชำเลืองไปทางอื่น
3. แทนกัน บางครั้งอวัจนภาษาทำหน้าที่แทนวัจนภาษาได้
เช่น การกวักมือแทนการเรียกให้เข้ามาหา การปรบมือแทนการชมเชยหรือความพึงพอใจ
4. เสริมกัน อวัจนภาษาเพิ่มหรือเสริมน้ำหนักให้แก่คำพูดได้
โดยเฉพาะคำพูดที่ผู้ใช้ต้องการแสดงอารมณ์หรือแสดงภาพให้เห็นจริงเห็นจัง เช่น เด็กเล็กๆที่ผูกพันกับแม่
และพูดว่า “รักแม่เท่าฟ้า” พร้อมทั้งกางแขนออกกว้างเพื่อยืนยันหรือเสริมความชัดเจนของคำพูดนั้น
5. เน้นกัน การพูดโดยรู้จักเน้นในที่ที่ควรเน้น การเน้นให้มีน้ำหนักแตกต่างกันจะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้แก่คำพูดได้
เช่น การบังคับเสียงให้ดังหรือค่อยกว่าปกติ การเคลื่อนไหวของมือ แขน และศีรษะ ตัวอย่างเช่น
การพูดว่า “ฉันเกลียดแก” โดยเน้นคำว่า
“เกลียด” และยกมือชี้หน้า ในขณะที่พูดว่า
“แก” เป็นการเน้นย้ำอารมณ์และความรู้สึกของผู้พูด
การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นจะต้องใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาประกอบกัน
ซึ่งมีความสัมพันธ์การสื่อสารในฐานะรหัส หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสาร การที่จะเข้ารหัสคือส่งสารหรือถอดรหัสคือรับสารได้ดีนั้น
จะต้องใช้ทักษะทางภาษาซึ่งเกิดขึ้นจากการฝึกฝนเป็นประจำ เมื่อคนเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสารได้จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะการใช้ภาษาให้เชียวชาญเพื่อจะได้แปรสารเป็นรหัสทางภาษาที่แจ่มแจ้งชัดเจนเมื่อเป็นผู้ส่งสาร
และเมื่อเป็นผู้รับสารก็สามารถถอดรหัสได้อย่างถูกต้อง มีวิจารณญาณไตร่ตรองว่าสารนั้นสมควรจะยอมรับหรือปฏิบัติตามหรือไม่
หากเรียนรู้ถึงกระบวนการสื่อสารและนำมาใช้ประโยชน์ในการแสวงหาความรู้ทั้งในระบบการศึกษาและในชีวิตประจำวัน
คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
2. มีทักษะในการสื่อสาร
3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
อุปสรรคในการสื่อสาร
อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์
ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร
อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรค
ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
1.1 ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
1.2 ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
1.3 ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
1.4 ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
1.5 ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
1.6 ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
1.2 ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
1.3 ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
1.4 ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
1.5 ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
1.6 ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
อุปสรรคที่เกิดจากสาร
2.1 สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร
อาจยากหรือง่ายเกินไป
2.2 สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
2.3 สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
2.4 สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
2.2 สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
2.3 สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
2.4 สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อและช่องทาง
3.1 การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
3.2 การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
3.3 การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
3.2 การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
3.3 การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
4.1 ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
4.2 ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
4.3 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
4.4 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
4.5 ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป
4.2 ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
4.3 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
4.4 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
4.5 ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป
ประโยชน์ของการสื่อสาร
- งานบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างราบรื่น
- เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน มีความสามัคคี
- เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
- ลดข้อขัดแย้งที่เกิดจากความไม่เข้าใจกัน
- ประหยัดทรัพยากรในการทำงาน
- ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย
- ป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน
- เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน มีความสามัคคี
- เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
- ลดข้อขัดแย้งที่เกิดจากความไม่เข้าใจกัน
- ประหยัดทรัพยากรในการทำงาน
- ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย
- ป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น